
วิสัยทัศน์
‘‘ประชาชนอำเภอวังโป่ง มีสุขภาพดี ภายใต้ระบบบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานและยั่งยืน’’
พันธกิจ
‘‘ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมต่อเนื่อง ครอบคลุมด้านการส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ อย่างมีคุณภาพ’’
ยุทธศาสตร์
1.พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐานการพัฒนา
2.พัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (HA)
3.ส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังเพื่อความมั่นคงขององค์กร
เป้าประสงค์
1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ อำเภอวังโป่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง ภายใต้การบริการที่ได้มาตรฐานของกรมควบคุมโรคสำหรับโรคไม่ได้ติดต่อเรื้อรัง (NCD Plus )
2.โรงพยาบาลได้รับการต่ออายุการรังรองตามมาตรฐาน HA
3.โรงพยาบาลมีระบบข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศ (ICT) ที่ได้มาตรฐานรองรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล
5.โรงพยาบาลมีระดับคะแนน Risk Scoring เป็นไปตามเป้าหมาย สะท้อนความมั่นคงทางการเงินที่นำไปสู่ความอยู่รอด
ตัวชี้วัด
1.ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ อำเภอวังโป่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง ภายใต้การบริการที่ได้มาตรฐานของกรมควบคุมโรคสำหรับโรคไม่ได้ติดต่อเรื้อรัง (NCD Plus )
2.ผ่านการต่ออายุการรับรองครั้งที่ 2 ตามมาตรฐาน HA ปี 2565
3.ผ่านมาตรฐาน HAIT ในระดับสูงขึ้น (Level 3)
4.ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
5.โรงพยาบาลมีระดับคะแนน Risk Scoring = 0 ตามระยะเวลาเป้าหมาย
กลยุทธ์
กลยุทธ์เป้าประสงค์ที่ 1
1. จัดทำระบบการจัดการความรู้ (KM System) ในการพัฒนาและเติมเต็มความรู้ทักษะประสบการณ์ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล/ อสม. NCD Board.ให้เข้าถึงเข้าใจการเสริมพลังในการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ด้าน NCD อย่างเกิดประสิทธิผลตามเป้าประสงค์ของโรงพยาบาลวังโป่ง
2. จัดทำคลังความรู้ (Knowledge Warehouse) ที่เน้นส่งเสริมความรู้กรณีศึกษา การบริหารจัดการ กลยุทธ์ในการปฏิบัติงานด้าน NCD ที่เป็น Good/Best/Practice ของโรงพยาบาลวังโป่งเพื่อเสริมพลังให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกองขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ NCD ของโรงพยาบาลที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Leaning) ผ่านระบบ ICTที่ทันสมัยและทันเวลา
3. จัดทำระบบที่ปรึกษา (Mentor System) ผ่านระบบ Online ที่สามารถสร้างการเรียนรู้บุคลากรใหม่ด้าน NCD แบบ Real Time
4. พัฒนาความรู้ของบุคลากรของโรงพยาบาลวังโป่ง ด้านการสื่อสาร ด้าน NCD ที่เกิดประสิทธิผลต่อผู้ป่วยในชุมชนที่สามารถเข้าถึงได้อย่างทันสมัยและทันเวลา
5. ระดมทรัพยากรจากภายนอกองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการในมิติ NCD ทั้งงบประมาณ เทคโนโลยี ความรู้ความเชียวชาญให้บรรลุเป้าประสงค์
6. สำรวจ/จัดทำฐานข้อมูลหรือ Big Data เพื่อเป็นฐานในการปรับกระบวนการด้าน NCD ของโรงพยาบาลให้เกิดผลิตภาพ (Productivity) ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กร
7. จัดทำวิจัยแบบ R2Rเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการ NCD รวมถึงการสรรหากลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุเป้าประสงค์ในองค์กร
8. ส่งเสริมให้กระบวนการ NCD ของโรงพยาบาลวังโป่ง เป็นแหล่งเรียนรู้/ต้นแบบในการศึกษางาน/KM/อบรมให้กับโรงพยาบาล ที่มีความต้องการพัฒนาในสถานะ Train the Trainer
กลยุทธ์เป้าประสงค์ที่ 2
1.จัดกิจกรรมหรือแผนงานโครงการที่ใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA ครบถ้วนทุกองค์ประกอบตามมาตรฐาน HA
2.พัฒนาระบบบริการรายโรครวมถึงระบบงานที่สร้างคุณค่าของโรงพยาบาลได้ครอบคลุมการบริการ ทันสมัยและทันเวลา
3.พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของโรงพยาบาลในการปฏิบัติงานโดยใช้ KM เป็นฐาน ด้าน HA เช่นอบรมทั้งในและนอกองค์กร มีระบบMentor มีระบบ Consultที่ทันสมัย
4. พัฒนาประสิทธิภาพของวิธีการ หรือก ลยุทธ์หรือความรู้ หรือกล วิธี ทักษะ ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการการเครือข่ายในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับHA ของโรงพยาบาล
กลยุทธ์เป้าประสงค์ที่ 3
1. จัดกิจกรรมหรือแผนงานโครงการที่ใช้ในการพัฒนาระบบข่าวสารและระบบสารสนเทศ(ICT)ของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานตาม HAIT ในระดับ 2(ปี 2564)และระดับ 3 (ปี 2565)
2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้บุคลากรมารถนำระบบสารสนเทศไปใช้พัฒนาคุณภาพของกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้ KM เป็นฐาน(แผนก IT/บุคลากรโรงพยาบาล)
3. จัดทำหรือพัฒนาหรือปรับปรุงระบบข้อมูลและระบบสารสนเทศให้รองรับการดำเนินงานที่เป็นเลิศของโรงพยาบาล ในหลากหลายด้าน ดังนี้
– ส่งเสริมยุทธศาสตร์
– ส่งเสริมการบริการ
– การพัฒนาบุคลากร
– ส่งเสริมการวิจัยหรือ R2R
กลยุทธ์เป้าประสงค์ที่ 4
1. พัฒนาสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเชิงกายภาพของโรงพยาบาลให้รองรับการบริการผู้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล(HA)
2. ส่งเสริมกิจกรรมที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนที่รับผิดชอบให้สามารถลดภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง(วังโป่ง SHC)
3. พัฒนาสมรรถนะด้านการบริการที่มีคุณภาพให้กับบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการชองโรงพยาบาล
กลยุทธ์เป้าประสงค์ที่ 5
1 แสวงหาแหล่งรายได้จากภายนอกอบต./อบจ./เทศบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์
2 ศึกษาเรียนรู้ดูงานเครือข่ายต้นแบบด้านการเงินการคลังเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์
3 พัฒนากิจกรรมการกุศลเพื่อหารายได้จากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกับเครือข่ายตำบลเพื่อตอบสนองผู้มีจิตศรัทธา
4 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านสื่อออนไลน์ด้านการใช้โปรแกรมจัดเก็บรายได้
5. จัดทำ Business plan ของโรงพยาบาลเพื่อ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย อุดรูรั่ว และทบทวนทุกไตรมาส เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน
6. พัฒนาโครงการฝึกอบรมทั้ง Public และ In-house Training ในการ Up and Re-Skills บุคคลภายนอก องค์กร ฯลฯ บนพื้นฐานองค์ความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาล
7. พัฒนาประสิทธิภาพของใช้ระบบสารสนเทศ (IT) เพื่อใช้ในการจัดเก็บและตรวจสอบติดตามทางรายได้
8. ส่งเสริมการใช้สื่อดิจิตอลเพื่อประชาสัมพันธ์บริการทางการแพทย์ร่วมกับเครือข่ายตำบล
9. วิเคราะห์รายจ่ายหลักของโรงพยาบาลเช่นค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแล้วนำข้อมูลมาเผยแพร่กระตุ้นการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
10 พัฒนาระบบคัดกรองหรือลดภาวะแทรกซ้อนร่วมกับเครือข่ายระดับตำบลเพื่อป้องกันผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพื่อลดค่าใช้จ่ายโรคเรื้อรังสำคัญ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
11. วิเคราะห์รายจ่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังในแต่ละโรค (Unit cost) เช่น DM HT CKD CA COPD
12. จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อป้องกันปัญหาจากมาตรา 41
องค์กรคุณธรรม
ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีน้ำใจ





